Saturday, March 31, 2012

ครั้งแรกของเทคโนโลยี 4G ในประเทศไทย ทดสอบฟรี ที่สยามถึงพฤษภาคมนี้

ครั้งแรกของประเทศไทยที่ภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วยกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร,คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ,ทีโอที,กสท.โทรคมนาคม,เอไอเอสและดีพีซีผนึกกำลังเปิดประสบการณ์บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงครั้งแรกในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี 4G หรือ Long Term Evolution-LTE ยืนยันศักยภาพความพร้อมเต็มรูปแบบ พร้อมเปิดให้ผู้บริโภคได้สัมผัสเทคโนโลยี 4G ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดก่อนเตรียมเปิดประมูลอย่างเป็นทางการเร็วๆนี้

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวในพิธีเปิดงาน 4G Thailalong with the really first 100 Mbps ว่า จากแนวนโยบาย สมาร์ท ไทยแลนด์ ของกระทรวง ICT ซึ่งนอกเหนือจากการเร่งเดินหน้านำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารของประเทศ สร้างการเติบโตของอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของคนไทยแล้วอีกด้าน คือ การหาเทคโนโลยีใหม่ๆที่มีความทันสมัยสร้างโอกาสในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มอันจะเป็นการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยอีกทางหนึ่งนำไปสู่ที่มาของการจัดทดสอบเทคโนโลยี 4G หรือ Long Term Evolution-LTE ในวันนี้ภายใต้การผนึกกำลังระหว่างภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในฐานะมีบทบาทสำคัญที่สุดในการอนุมัติให้เกิดการทดสอบครั้งนี้,บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน),บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน),บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ในฐานะผู้ประกอบการอันถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกและเป็นนิมิตรหมายอันดียิ่งถึงความร่วมมือที่จะนำพาให้ประเทศเดินหน้าอย่างเข้มแข็งโดยมีเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัยที่สุดสนับสนุน

ด้านพลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติและพันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติและประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ในฐานะองค์กรผู้กำกับดูแลและอนุมัติให้เกิดการทดสอบทดลองในครั้งนี้ได้ร่วมกันเปิดเผยถึงรายละเอียดการทดสอบครั้งนี้ว่า บทบาทหน้าที่ของ กสทช.นอกเหนือจากหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ตลอดจนเทคโนโลยี ทั้งในส่วนของกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการและประเทศชาติได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง เกิดประโยชน์และสร้างความเท่าเทียมกันแล้วเรายังมีหน้าที่ติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เล็งเห็นว่าจะเพิ่มโอกาสให้แก่ประชาชน และประเทศ จากนั้นนำมาทดลอง ทดสอบเพื่อกำหนดมาตรฐานก่อนที่จะเปิดประมูลอย่างเป็นทางการในอนาคต �

เทคโนโลยี LTE-Long Term Evolution หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อของ 4G เป็น 1 ในเทคโนโลยีอนาคตซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถตอบสนองการใช้งานบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง การเรียนรู้เพื่อเข้าใจถึงคุณสมบัติของเทคโนโลยีนี้อย่างถ่องแท้จึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น กสทช.จึงได้อนุมัติให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน),บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ดำเนินการทดสอบใน 2 เทคโนโลยี และ 2 พื้นที่ ประกอบด้วย
1. โครงการทดสอบและทดลองระบบบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง Broadband Wirea lot less Access-BWA ในย่านความถี่ 2300 MHz ด้วยเทคโนโลยี Long Term Evolution ซึ่งใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ Time Division Duplex หรือ TDD ในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งในเขตพื้นที่ชั้นในบริเวณถนนพระรามหนึ่งตั้งแต่มาบุญครองถึงเซ็นทรัลเวิลด์รวมถึงชั้นนอกจากศูนย์ราชการ กระทรวงไอซีทีและสำนักงานทีโอทีแจ้งวัฒนะ โดยมีจำนวนสถานีฐาน 20 แห่ง เปิดให้ทดสอบถึงช่วงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2555

2. โครงการทดสอบและทดลองระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 ในย่านความถี่ 1800 MHz ด้วยเทคโนโลยี Long Term Evolution ซึ่งใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ Frequency Division Duplex หรือ FDD ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม ในเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม โดยเบื้องต้นมีจำนวนสถานีฐาน 8 แห่ง เปิดให้ทดสอบถึงช่วงประมาณต้นเดือนมีนาคม 2555

โดยการทดสอบครั้งนี้เป็นรูปแบบของการทดสอบเชิงเทคนิคชั่วคราว หรือ Technical Trial ซึ่งมิได้แสวงหากำไรเชิงพาณิชย์ หรือ Non Commercial ทั้งนี้จะได้มีการเปิดโอกาสให้ทั้งกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค พร้อมทั้งกลุ่มตัวอย่างของประชาชนนักเรียนนักศึกษาได้ทำการทดสอบด้วยเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการและเข้าใจถึงรูปแบบ
ความต้องการใช้งานของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างครอบคลุม ก่อนที่ทางกสทช.จะได้นำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการจัดการประมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ต่อไป

ทั้งนี้ คุณธนวัฒน์ อัมพุนันทน์ รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน),คุณขจรศักดิ์ สิงหเสนี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันกล่าวว่า ทั้ง ทีโอที และ กสท.นอกเหนือจากบทบาทของผู้ประกอบการที่มุ่งมั่นส่งมอบบริการที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าแล้วเรายังพร้อมร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่าง เอไอเอสและดีพีซี ซึ่งทำงานร่วมกันมายาวนานและสร้างความสำเร็จมาด้วยกันในฐานะคู่สัญญาสัมปทาน เพื่อสรรหาและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ในอันที่จะเพิ่มพูนประสบการณ์และเตรียมความพร้อมก่อนที่ภาครัฐจะเปิดการประมูลอย่างเป็นทางการ

เรากำลังพูดถึงการเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมของ Smart Thailand ซึ่งส่วนหนึ่งคือการขยาย Broadband ให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงโลกอินเตอร์เน็ต หรือ การใช้งาน Data ผ่าน High Speed World wide web ได้ง่ายๆการมาถึงของเทคโนโลยี 4G นอกเหนือจากการใช้งานส่วนบุคคลแล้ว เรายังมองถึงการสร้างโอกาสทางการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงผ่าน Wifi ได้ง่ายๆ เพียงใช้ Aircard 4G และ WiFi Adaptor ซึ่งจะส่งผลทำให้ภาพของ National Broadband ตามนโยบายของกระทรวงICT มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่ง นายธนวัฒน์ กล่าว
นอกจากนี้การเรียนรู้เชิงวิศวกรรมในพื้นที่หลากหลายก็สำคัญวันนี้ตลาดต่างจังหวัด มีอัตราการเติบโตของ Data มากขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งจ.มหาสารคามมีคุณสมบัตินี้อยู่ครบจึงเป็นที่มา ของการเลือกเป็นจุดทดสอบรวมถึงคลื่น 1800 MHz เองก็มีเพียงพอที่จะทำการทดสอบได้อย่างไม่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการปัจจุบัน เราจึงคาดหวังว่าจะได้ผลการทดสอบในภาพรวมอย่างครบถ้วนทั้งด้านเทคนิคและมุมมองความต้องการของผู้บริโภค นายขจรศักดิ์กล่าว
ส่วนที่มาของการเปิดทดสอบรวมถึงรายละเอียดการทดสอบจากภาคเอกชนนั้น นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอสและนายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร กรรมการผู้อำนวยการ ดีพีซี กล่าวว่า วันนี้ผู้ใช้บริการ Data โดยเฉพาะในเครือข่ายของเรามีมากกว่า 10 ล้านราย แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความต้องการด้านนี้จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดในเวลาอันใกล้ การมองหาเทคโนโลยีอนาคตที่จะตอบโจทย์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำควบคู่กับการให้บริการปัจจุบันอย่างดีที่สุดเอไอเอสและดีพีซีในฐานะเอกชนที่มีความพร้อมและมีประสบการณ์ในการให้บริการเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายมากกว่า 20 ปี ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความชำนาญด้านวิศวกรรม,ทักษะในการปรับจูนเครือข่ายตลอดจนความเข้าใจถึงการนำเสนอ Application ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นไปในลักษณะของการส่งมอบประสบการณ์องค์รวมจึงเสนอขอทดลองทดสอบเทคโนโลยี 4G
ใน 2 รูปแบบ 2 คลื่นความถี่ และ 2 สถานที่ดังกล่าวข้างต้น เพื่อจะได้เสริมทักษะ และเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ตลอดจนมองถึงการผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีที่ให้บริการในปัจจุบัน เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่รับกับการประมูลที่เชื่อมั่นว่าจะมาถึงในอนาคตอันใกล้

วัตถุประสงค์หลักอีกประการ คือเราตั้งใจทำเพื่อประเทศโดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาให้คนไทยได้สัมผัสก่อนใครอันจะทำให้มองเห็นถึงประโยชน์ที่จะปรับประยุกต์ใช้ในกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการศึกษา,ด้านการแพทย์,ด้านความบันเทิง ตลอดจนอุตสาหกรรมหลักทุกๆ ด้านที่ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูงเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการต่อยอดการเติบโต ซึ่งเราเองเชื่อมั่นว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมรับเทคโนโลยีใหม่จากทุกมุมมองที่จะทำให้เมื่อมีการประมูลเกิดขึ้นทุกภาคส่วนจะพร้อมเริ่มงานได้ทันทีโดยไม่ต้องรอที่จะเรียนรู้
นายวีรวัฒน์ กล่าวถึงรูปแบบการทดสอบในครั้งนี้ว่า เอไอเอสและดีพีซีเน้นศึกษา 4G ในด้านความเร็วและความเสถียร,รัศมีในการส่งสัญญาณ (Coverage Area),ลักษณะการใช้งานในขณะเคลื่อนที่การ Handover ภายใต้ Coverage ที่มีความต่อเนื่อง (เฉพาะการทดสอบที่จ.มหาสารคาม),ความสัมพันธ์ของย่านความถี่และช่วงกว้างความถี่ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานของเทคโนโลยี LTE,ความเร็วของการเข้าถึง Content ด้าน Multi Media แบบ HD,รูปแบบของ Application ที่เหมาะสมและตรงใจผู้บริโภคฯลฯ ทั้งนี้จากการศึกษาดูงานในต่างประเทศพบว่าการให้บริการ 3G และ 4G จะดำเนินควบคู่กัน โดย 3G จะเป็นโครงสร้างหลักที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ตอบโจทย์คนที่ใช้งาน Data ใน day-to-day Life และ Lifestyle ในขณะที่ 4G จะเหมาะกับกลุ่มเฉพาะที่มีการใช้งานเชิงลึก เช่น สถาบันการศึกษาที่ต้องเข้าถึงข้อมูลทางวิชาการ,โรงพยาบาลหรือศูนย์วิจัยทางการแพทย์ต่างๆ ผ่านทาง Telemedicine หรือแม้แต่กลุ่มที่ทำธุรกิจด้านความบันเทิงที่ต้องใช้งาน Multimediaมากๆ ซึ่งการทดลองทดสอบครั้งนี้จะช่วยยืนยันถึง Trend ดังกล่าวได้อย่างชัดเจน ������
นายวิเชียร กล่าวตอนท้ายว่า การทดสอบครั้งนี้เป็นไปในลักษณะของ Technology Trial ซึ่งภาครัฐได้ให้ความสำคัญและร่วมมือกับเราอย่างดียิ่งโดยเราได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ผู้ผลิตประกอบด้วย Cisco,Huawei,Nokia-Siemens Network โดยเราคาดหวังว่าผลจากการทดสอบที่ครบถ้วนในทุกมุมมองครั้งนี้จะเป็นการยืนยันถึงความพร้อมของผู้ประกอบการอย่างเราที่มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้งานรวมถึงความพร้อมในระดับประเทศที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง 4G หรือแม้แต่ 3G� ที่ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาคน สังคม และระบบเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศเข้ามาเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการผ่านการเปิดประมูลอย่างเป็นธรรมสำหรับภาคเอกชนอย่างเอไอเอสและดีพีซีนั้นขอยืนยันผ่านการทำงานครั้งนี้ว่าเรามีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งในทุกด้านที่จะดำเนินการและส่งมอบบริการแก่คนไทย�
ไม่ว่าจะเป็น 3G หรือ 4G รวมถึงเทคโนโลยีอนาคตอื่นๆ ให้แก่คนไทยเสมอหากเวลาที่ภาครัฐเปิดโอกาสผ่านการประมูลใบอนุญาตมาถึง ���
การจัดทดสอบ 4G Thailalong with the really first 100 Mbps นั้นเปิดให้ประชาชนได้ร่วมทดสอบเทคโนโลยี 4G ด้วยเช่นกัน โดยจะมีการตั้งจุดทดสอบในพื้นที่ซึ่งมี Coverage เพื่อจะได้รับมุมมองความเห็นของผู้บริโภคตัวจริงอันจะถือได้ว่าเป็นเสียงสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาให้บริการอย่างเป็นทางการในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้จะมีการเผยแพร่จุดทดสอบ 4G ทั้งในกรุงเทพ และ จ.มหาสารคามให้ได้ทราบเพื่อร่วมทดสอบต่อไป�������������������������� ���

 See More..

บทความที่ได้รับความนิยม